ปลายทางคืออะไร

ปลายทางคืออุปกรณ์จริงที่เชื่อมต่อกับระบบเครือข่าย เช่น อุปกรณ์เคลื่อนที่ คอมพิวเตอร์เดสก์ท็อป เครื่องเสมือน อุปกรณ์แบบฝัง และเซิร์ฟเวอร์

คำจำกัดความของปลายทาง

ปลายทางคืออุปกรณ์จริงที่เชื่อมต่อและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างบางส่วนของปลายทาง ได้แก่ อุปกรณ์เคลื่อนที่ คอมพิวเตอร์เดสก์ท็อป เครื่องเสมือน อุปกรณ์แบบฝัง และเซิร์ฟเวอร์ อุปกรณ์อินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง เช่น กล้อง ไฟ ตู้เย็น ระบบรักษาความปลอดภัย ลำโพงอัจฉริยะ และเครื่องควบคุมอุณหภูมิ จัดเป็นปลายทางด้วยเช่นกัน ตัวอย่างเช่น เมื่ออุปกรณ์เชื่อมต่อกับเครือข่าย การรับส่งข้อมูลระหว่างแล็ปท็อปและเครือข่ายก็เหมือนกับการสนทนาทางโทรศัพท์ระหว่างคนสองคน

ความสำคัญของการรักษาความปลอดภัยปลายทาง

การรักษาความปลอดภัยปลายทางหรือการป้องกันปลายทางนั้นช่วยปกป้องปลายทางจากการโจมตีและช่องโหว่ที่เป็นอันตราย

 

อาชญากรไซเบอร์พุ่งเป้าไปที่ปลายทาง เพราะว่าเป็นประตูในการรวมข้อมูลและเป็นช่องโหว่ในการโจมตีตามธรรมชาติ ปลายทางอยู่นอกระบบความปลอดภัยเครือข่ายและขึ้นอยู่กับผู้ใช้ในการกำหนดมาตรการรักษาความปลอดภัย ซึ่งทำให้เกิดช่องโหว่จากข้อผิดพลาดของมนุษย์ การป้องกันปลายทางจากการโจมตีกลายเป็นปัญหาที่ยุ่งยากขึ้นเมื่อบุคลากรทำงานจากหลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็นที่สำนักงาน จากระยะไกล และแบบไฮบริด โดยใช้อุปกรณ์จำนวนมากขึ้นจากทุกที่บนโลก

 

ธุรกิจทุกขนาดมีช่องโหว่ ตามรายงานการตรวจสอบการรั่วไหลของข้อมูลของ Virizon นั้นระบุว่า 43 เปอร์เซ็นต์ของการโจมตีทางไซเบอร์เกี่ยวข้องกับธุรกิจขนาดเล็ก1 ธุรกิจขนาดเล็กเป็นเป้าหมายหลักเพราะอาจเป็นจุดเข้าใช้งานของอาชญากรในการเจาะระบบบริษัทขนาดใหญ่ขึ้น และมักไม่มีการป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์

 

การรักษาความปลอดภัยปลายทางเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากการรั่วไหลของข้อมูลมีค่าใช้จ่ายสูง ซึ่งสร้างความเสียหายอย่างมหาศาลมากให้กับบริษัท ค่าเสียหายโดยเฉลี่ยของการรั่วไหลของข้อมูลคือ 4.24 ล้านดอลลาร์ทั่วโลกและ 9.05 ล้านดอลลาร์ในสหรัฐอเมริกา ตาม “รายงานค่าเสียหายของเหตุการณ์ข้อมูลรั่วไหลปี 2021” ของ Ponemon Institute (จัดทำโดย IBM) การรั่วไหลที่เกี่ยวข้องกับการทำงานจากระยะไกลมีค่าเสียหายโดยเฉลี่ยมากกว่า 1.05 ล้านดอลลาร์ ค่าเสียหายจากการรั่วไหลส่วนใหญ่—38%—เกิดจากความเสียหายทางธุรกิจ เช่น การสูญเสียลูกค้า การสูญเสียรายได้เนื่องจากเวลาหยุดทำงานของระบบ และต้นทุนของการเปิดธุรกิจใหม่ เนื่องจากการเสื่อมเสียชื่อเสียง

การรักษาความปลอดภัยปลายทางทำงานอย่างไร

การรักษาความปลอดภัยปลายทางใช้กระบวนการ บริการ และโซลูชันต่างๆ เพื่อปกป้องปลายทางจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ เครื่องมือการรักษาความปลอดภัยปลายทางแรกคือซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสและป้องกันมัลแวร์แบบดั้งเดิม ซึ่งได้รับการออกแบบมาเพื่อยับยั้งไม่ให้อาชญากรทำอันตรายต่ออุปกรณ์ เครือข่าย และบริการได้ การรักษาความปลอดภัยปลายทางได้พัฒนาขึ้นเพื่อรวมโซลูชันขั้นสูงที่ทำงานบนระบบคลาวด์และครอบคลุมมากขึ้น ซึ่งช่วยตรวจหาภัยคุกคาม ตรวจสอบ และตอบสนองต่อภัยคุกคาม และจัดการแอป อุปกรณ์ และผู้ใช้

ความเสี่ยงทั่วไปของการรักษาความปลอดภัยปลายทาง

องค์กรมีช่องโหว่ต่อภัยคุกคามความปลอดภัยของปลายทางมากขึ้นเรื่อง เพราะว่าบุคลากรทำงานจากระยะไกลมากขึ้น ความเสี่ยงทั่วไปของการรักษาความปลอดภัยปลายทางบางส่วน ได้แก่:

  1. ฟิชชิ่ง การโจมตีแบบวิศวกรรมสังคมชนิดหนึ่งที่ล่อลวงให้เป้าหมายแชร์ข้อมูลที่ละเอียดอ่อน
  2. แรนซัมแวร์ มัลแวร์ที่เป็นข้อมูลของเหยื่อไว้จนกว่าจะชำระค่าไถ่
  3. อุปกรณ์สูญหาย หนึ่งในสาเหตุหลักของการรั่วไหลของข้อมูลสำหรับองค์กร อุปกรณ์ที่สูญหายหรือถูกขโมยอาจนำไปสู่ค่าปรับตามข้อกำหนดราคาสูง
  4. โปรแกรมแก้ไขที่ล้าสมัยซึ่งเปิดช่องโหว่ในระบบจะเปิดโอกาสให้ผู้ไม่หวังดีใช้ประโยชน์จากระบบและขโมยข้อมูล
  5. มัลแวร์ โฆษณา หรือการโฆษณาหลอกลวง ที่ใช้โฆษณาออนไลน์ในการแพร่มัลแวร์และใช้ช่องโหว่ของระบบ
  6. การโจมตี Drive-by download คือการดาวน์โหลดซอฟต์แวร์โดยอัตโนมัติไปยังอุปกรณ์โดยที่ผู้ใช้ไม่ทราบ

แนวทางปฏิบัติของการรักษาความปลอดภัยปลายทาง

การปกป้องปลายทางสามารถช่วยรักษาข้อมูลขององค์กรให้ปลอดภัยได้ ปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติเหล่านี้เพื่อป้องกันภัยคุกคามไซเบอร์

  • ให้ความรู้แก่ผู้ใช้

    พนักงานคือแนวป้องกันแรกของการรักษาความปลอดภัยปลายทาง แจ้งข้อมูลการฝึกอบรมด้านการรักษาความปลอดภัยและการปฏิบัติตามข้อบังคับและการแจ้งเตือนให้พวกเขาทราบเป็นประจำ

  • ติดตามอุปกรณ์

    คอยติดตามอุปกรณ์ทั้งหมดที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายของคุณ อัปเดตสินค้าคงคลังของคุณเป็นประจำ ตรวจสอบให้แน่ใจว่าปลายทางมีการอัปเดตซอฟต์แวร์และโปรแกรมแก้ไขล่าสุด

  • เริ่มนำ Zero Trust ไปใช้

    สนับสนุนโมเดลรักษาความปลอดภัยแบบ Zero Trust จัดการและมอบสิทธิ์การเข้าถึงด้วยการตรวจสอบข้อมูลประจำตัว อุปกรณ์ และบริการอย่างต่อเนื่อง

  • เข้ารหัสลับปลายทาง

    เพิ่มการรักษาความปลอดภัยด้วยการเข้ารหัสลับ ซึ่งจะเพิ่มการป้องกันอีกหนึ่งชั้นให้กับอุปกรณ์และข้อมูล

  • บังคับใช้รหัสผ่านที่คาดเดาได้ยาก

    บังคับให้ใช้รหัสผ่านที่ซับซ้อน บังคับให้อัปเดตรหัสผ่านเป็นประจำ และห้ามการใช้รหัสผ่านเดิม

  • อัปเดตระบบ ซอฟต์แวร์ และโปรแกรมแก้ไขอยู่เสมอ

    ทำการอัปเดตระบบปฏิบัติการ แอปพลิเคชัน และซอฟต์แวร์รักษาความปลอดภัยเป็นประจำ

โซลูชันการรักษาความปลอดภัยปลายทาง

การป้องกันปลายทางเป็นเรื่องสำคัญ เนื่องจากบุคลากรจากระยะไกลยังคงมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ องค์กรสามารถปกป้องปลายทางของพวกเขาได้ด้วยโซลูชันการรักษาความปลอดภัยปลายทางที่ครอบคลุม ซึ่งรองรับระบบนิเวศของอุปกรณ์ที่นำมาเอง (BYOD) ที่หลากหลาย ปฏิบัติตามวิธีการรักษาความปลอดภัยแบบ Zero Trust และจัดการอุปกรณ์โดยไม่ขัดจังหวะการดำเนินธุรกิจ

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ Microsoft Security

คำถามที่ถามบ่อย

|

ปลายทางคืออุปกรณ์ที่เชื่อมต่อและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ต่อไปนี้คือตัวอย่างบางส่วนของปลายทาง:

  • สมาร์ทโฟน
  • แท็บเล็ต
  • เดสก์ท็อป
  • แล็ปท็อป
  • เวิร์กสเตชัน
  • เซิร์ฟเวอร์
  • อุปกรณ์อินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง เช่น กล้อง ไฟ ตู้เย็น ระบบรักษาความปลอดภัย ลำโพงอัจฉริยะ และเครื่องควบคุมอุณหภูมิ

อุปกรณ์ที่เครือข่ายทำงานอยู่ไม่ใช่ปลายทาง แต่เป็นอุปกรณ์ภายในของลูกค้า (CPE) ต่อไปนี้คือตัวอย่างของ CPE ที่ไม่ใช่ปลายทาง:

  • ไฟร์วอลล์
  • ตัวแบ่งสมดุลโหลด
  • เกตเวย์เครือข่าย
  • เราเตอร์
  • สวิตช์

การรักษาความปลอดภัยปลายทางครอบคลุมบริการ กลยุทธ์ และโซลูชันมากมาย ได้แก่:

  • การวิเคราะห์
  • ซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสและป้องกันมัลแวร์
  • การควบคุมอุปกรณ์
  • การตรวจหาและการตอบสนองปลายทาง (EDR)
  • แพลตฟอร์มการป้องกันปลายทาง
  • การอุดช่องโหว่
  • การตรวจหาและการตอบสนองแบบขยาย (XDR)
  • เครื่องมือการรักษาความปลอดภัยของเครือข่าย
  • การวิเคราะห์ปริมาณการใช้งานเครือข่าย
  • SIEM
  • การกรองเว็บ

การป้องกันปลายทางช่วยปกป้องปลายทาง เช่น แล็ปท็อปและสมาร์ทโฟนที่เชื่อมต่อกับเครือข่าย จากผู้ไม่หวังดีและช่องโหว่ที่เป็นอันตราย

 

อาชญากรไซเบอร์พุ่งเป้าไปที่ปลายทาง เพราะสามารถช่วยให้ผู้โจมตีเข้าถึงเครือข่ายขององค์กรได้ องค์กรทุกขนาดมีช่องโหว่ เพราะผู้โจมตีพัฒนาวิธีการใหม่ๆ ในการขโมยข้อมูลอันมีค่าอย่างต่อเนื่อง

 

การป้องกันปลายทางช่วยรักษาข้อมูลของลูกค้า พนักงาน ระบบที่สำคัญ และทรัพย์สินทางปัญญาให้ปลอดภัยจากเงื้อมมือของอาชญากรไซเบอร์

Application Programming Interface หรือ API คือการเชื่อมต่อที่ทำให้คอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์สามารถโต้ตอบกันและกันได้ API ช่วยให้เราสามารถแชร์ข้อมูลสำคัญระหว่างแอปพลิเคชัน อุปกรณ์ และบุคคลได้ คิดง่ายๆ ว่า API ก็เหมือนกับบริกรในร้านอาหาร บริกรรับคำสั่งของลูกค้า ส่งให้พ่อครัว และยกอาหารมาให้ลูกค้า ในทำนองเดียวกัน API รับคำขอจากแอปพลิเคชัน โต้ตอบกับเซิร์ฟเวอร์หรือแหล่งข้อมูลเพื่อประมวลผลคำตอบ แล้วส่งคำตอบดังกล่าวให้กับแอปพลิเคชัน

 

ต่อไปนี้คือตัวอย่างบางส่วนของ API ทั่วไปที่ใช้ในชีวิตประจำวัน:

  • แอปพยากรณ์อากาศใช้ API เพื่อรับข้อมูลอุตุนิยมวิทยาจากบริษัทภายนอก
  • การชำระเงินด้วย PayPal ใช้ API เพื่อให้ผู้ซื้อสินค้าออนไลน์สามารถทำการซื้อได้โดยไม่ต้องเข้าสู่ระบบของสถาบันการเงินโดยตรงหรือเปิดเผยข้อมูลที่ละเอียด
  • เว็บไซต์ท่องเที่ยวใช้ API ในการรวบรวมข้อมูลเที่ยวบินและแชร์ตัวเลือกราคาที่ต่ำที่สุด

ปลายทางคืออุปกรณ์ อย่างเช่น สมาร์ทโฟนหรือแล็ปท็อปที่เชื่อมต่อกับเครือข่าย

 

ปลายทาง API คือ URL ของเซิร์ฟเวอร์หรือบริการ